Thursday, March 15, 2007

ในที่สุดผมก็หา Connection ระหว่าง Zizek กับ Heidegger ได้ !!!

ผมจำได้ว่าเมื่อก่อน เราๆ ท่านๆ เคยสงสัยกันใช่ใหมสำหรับชื่อของบทความ อ. ธเนศชิ้นหนึ่งที่ว่าด้วย Zizek

ผมจำชื่อบทความเป๊ะๆ ไม่ได้ (ไม่ได้เห็นมันนานแล้ว) แต่ในชื่อบทความนั้นมีความชัดเจนว่า อ. ธเนศบอกว่า Zizek นั้นเคยเป็น Heideggerian

... แต่เท่าที่จำได้ (บทความนี้ผมอ่านมาแล้วประมาณ 2-3 รอบ) ในตัวบทความนั้นไม่ได้มีการโยง Zizek กับ Heidegger เลย

... และตัวผมที่อ่านงาน งาน Zizek ช่วง 1989-1997 เกือบครบแล้ว (ขาด The Indivisible Remainder เพราะ ศ.ม.ศ. ไม่มี) และงานหลังๆ แวบไปแวบมา (ยังไม่ได้อ่านไล่ แต่อย่างเก็บบทความเป็นหลัก - ซึ่งหลังๆมันก็ซ้ำกับในหนังสือแหละ) ก็พบว่าไม่ได้มีการแสดงตนเป็น Heideggerian อย่างเด่นชัด จริงๆ คิดไปคิดมาผมอาจจะไม่มีปัญญา Detect ตรงนั้นก็ได้ แต่ผมคิดเอาง่ายๆ ว่าถ้าเขาใช้ Heidegger จริงๆ ผมต้องอ่านไม่รู้เรื่องเลย หรือ ก็ต้องเห็นศัพท์แปลกๆ ที่เห็นแล้วรู้เลยว่าเขากำลังใช้ Heidegger อยู่แน่ๆ

... ที่ไกล้เคียงสุดก็อาจเป็นการพูดถึง Ontic กับ Ontological ที่ผมเคยยกไว้ในบอร์ดม. เที่ยงคืน ก่อนที่มันจะถูกปิดไม่นาน

ผมคิดว่าสิ่งที่ผมเห็นมาทั้งหมดในงานของเขานี่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขาเป็น Heideggerian ได้เลย

แล้วผมก็เลิกสงสัยเรื่องนี้ไปนาน (พร้อมกับโล่งใจเล็กๆ พร้อมกับตัดสินใจว่าจะไม่แตะ Heidegger ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ - แต่ Kant กับ Hegel ก็จะแย่แล้ว)

... มาวันหนึ่งผมไปยืมหนังสือจาก ศ.ม.ศ. มามันเป็นหนังสือรวมบทสัมภาษณ์ Zizek ที่สัมภาษณ์โดย Glyn Daly

... และ ผมก็เข้าใจความเป็น Heideggerian ของ Zizek ในบทแรก

ตรงนี้มีการกล่าวถึงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ Zizek ที่ทำที่ Slovenia ซึ่งวิทยานิพนธ์ตัวนี้ เป็นตัวที่ผมไม่เคยได้ยินใครพูดถึงว่ามันเกี่ยวกับอะไร (ปกติจะได้ยินเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขาที่ทำเรื่องพวก French [Post?]Structuralism และ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกชิ้นที่สองที่เขาไปทำที่ฝรั่งเศส)

... แต่รู้ใหมครับว่ามันเกี่ยวกับอะไร?

Zizek ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกอันแรกของเขาเกี่ยวกับ Heidegger ครับ รู้สึกในบทสัมภาษณ์เขาจะไม่ได้พูดถึงมันในรายละเอียด (แต่เอาจริงๆ วิทยานิพนธ์ปริญญาโทเขาก็แค่พูดสั้นๆ ว่ามันเกี่ยวกับอะไร) สิ่งที่น่าสนใจคือ เขาพูดถึง Heidegger บ่อยมากๆ เลยในบทสัมภาษณ์ส่วนนั้น (ไม่ได้แค่เอ่ยชื่อ แต่พูดถึงตัวความคิดของ Heidegger ด้วย)

เอาล่ะ แล้วมันเป็นไงมาไงเนี่ย

ผมลองไล่ Timeline ของ Zizek ช่วงแรกให้ดูแล้วกันเผื่อจะเห็นอะไร (ผมสรุปเองจากบทสัมภาษณ์และข้อมูลอื่นๆ ที่มี)

Zizek เกิด 1949

ราวอายุ 15 (ปีราวๆ 1964-65) ยังอ่านงาน Classic Marxist อยู่

หลังจากนั้นก็โดนลากไปจมกับ Heidegger โดย Movement ใน Slovenia (ไม่ชัวร์ว่าตอนไหน แต่อยู่ในช่วง 65-68)

ราวๆอายุ 19 ปีเมื่ออยู่ปีหนึ่ง (First Year of University) 1968 ค้นพบงาน Derrida อ่านแล้วรู้สึกว่า "ใช่เลย" ทั้งๆ ที่ยังอ่านไม่รู้เรื่องเท่าไร และก็ไหลมาอ่านงานสายฝรั่งเศสเรื่อยๆ จนมาทำ Thesis ปริญญาโท

ตอนอายุราวๆ 24-28 เขาตกงานช่วงปี 1973-77 ตอนนั้นมีลูกมีเมียแล้ว (เมียคนแรก)

ข้อมูลบอกด้วยว่าวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเขาจบตอนช่วง ต้น 70's

อ้อ Zizek ตกลงปลงใจเลือก Lacan มาเป็นนักคิดหลักของเขาราวๆ ปี 75-76 (หลังจากอ่านไม่รู้เรื่องราวๆ หลายปี) ก็ตอนช่วงที่เขาตกงานนั่นแหละ

ใหญ่ๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คือ Zizek ได้งานที่ Institute of Sociology ที่ Slovenia ซึ่งเขาไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้นนอกจากอ่านหนังสือ (ราวๆ นั้น เป็น Editor ด้วยนิดหน่วย)

โอเค จบเท่านี้ก่อน (เพราะ ชักจะเยอะเกินกว่าประเด็นเกี่ยวกับ Heidegger)

จากข้อมูลตรงนี้ (ซึ่งอนุมานว่ามันไม่ผิดแน่ๆ) คำถามคือ เอาทำปริญญาเอกตอนไหน

สมมติว่าเรียนปริญญาตรีปีหนึ่งปี 68 แล้วตกงานราวๆ ปี 72 ระยะเวลามันรวม 6 ปี

ตรงนี้จบตรีกับโท พอเข้าใจ แต่จบเอกด้วยนี่อาจเวอร์ไปหน่อย

หรือ ว่าจริงๆ ปี 68 ตอนอายุ 19 Zizek เรียนโทแล้ว?

อันนี้ค่อนข้างงงมากๆ คงจะต้องค้นกันต่อไป คงต้องเข้าใจระบบมหาวิทยาลัยใน Slovenia ในตอนนั้นด้วย

อย่างไรก็ดีจากข้อมูลทั้งหมดนี่ก็ค่อนข้าง Confirm Connection ระหว่าง Zizek กับ Heidegger ได้แล้ว

... ในที่สุดท่าทางผมจะต้องมาแตะๆ งาน Heidegger ละ (Zizek บอกว่าการเป็นนักปรัชญาในยุคปัจจุบัน นั้น "ระยะห่าง" ที่มี่ต่อ Heidegger นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เช่น เดียวกับที่ครั้งหนึ่งระยะห่างที่มีต่อ Plato, ระยะห่างที่มีต่อ Hegel นั้นเป็นเรื่องสำคัญ) ก็คงจะไม่ลึกมากแต่ต้องให้ได้ภาพรวมแหละ

เพราะ ตอนนี้ Heidegger เวอร์ชั่น Text Book Heidegger ผมยังไม่ได้เลย (ถ้ามันมีนะ)

ดังนั้น เร็วๆ นี้ผมก็คงต้องไป Jamๆ และขอความรู้จากเหล่าๆ Heideggerian แห่งสำนักท่าพระจันทร์ละ

FxxkNoEvil

2 comments:

tudomedang said...

สำหรับคอร์สอีตาหนวดจิ๋ม Heidegger นั้น เทอมหน้าจะเริ่มเข้าในส่วน second division ของ Being and Time หากใครสนใจก็เข้ามาเรียนได้ (มั้ง- ผมคิดว่าบางทีอาจต้องคุยกับ อ.เกษมก่อน)เพราะตอนนี้เหลืออยู่แค่สามคนเท่านั้นเองที่ยังเรียนอยู่

SK_1981

tudomedang said...

อย่าลืมโครงการจัดพิมพ์ lecture และการอภิปรายจากกลุ่มศึกษานี้ด้วยนาครับ








tu domedamn